ทฤษฎีการเรียนรู้

 

          ทิศนา  แขมมณี (2545,หน้า 473) ทฤษฏีการเรียนรู้ หมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆหรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆหลายๆหลักการ

ทฤษฎีพหุปัญญา

ทฤษฎีเกสตัลท์

ทฤษฎีเครื่องหมาย

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

ทฤษฎีพหุปัญญา

หน้าหลักงานวิจัย

 

          ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ (2552, หน้า 33-36) ได้สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาดังนี้Gardner เชื่อว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่หลากหลายถึง 8 ประการหรืออาจมากกว่านี้ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ละเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับส่งเสริมที่เหมาะสม เชาว์ปัญญาที่ Gardnerแบ่งไว้ 8 ด้านมีดังนี้
          1.   ด้านภาษา (Linguistic intelligence) แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดการอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด การเล่าเรื่อง เป็นต้น

          2.   ด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence) ผู้มีอัจฉริยภาพด้านนี้มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบ ระเบียบในการคิดชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทำอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี


          3.   ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence) แสดงออกทางด้านศิลปะ การวาดภาพ   การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่างๆ มักจะเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เป็นต้น ปัญหาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา


          4.   ด้านดนตรี (Musical intelligence) แสดงออกทางความสามารถในด้านการร้องเพลง แต่งเพลง ไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวาต่างๆปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาเช่นกัน

          5.   ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence) สมองส่วนคอร์เท็กซ์คุมปัญญาด้านนี้ โดยด้านซ้ายคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวาด้านขวาคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย ซึ่งจะแสดงออกด้านการเล่นกีฬา เล่นเกมต่างๆ การแสดง การเต้นรำ เป็นต้น


          6.   ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่ควบคุมปัญญาด้านนี้ ซึ่งแสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ เป็นต้น ผู้มีปัญญาด้านนี้มักจะชอบช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่น


          7.   ด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence) ปัญญาด้านนี้มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้าน ซึ่งจะแสดงออกด้วยการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด ชอบความเงียบสงบ เป็นต้น

          8.   ด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆรอบตัว คนที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้รักธรรมชาติ ชอบ และสนใจสัตว์ เป็นต้น

          การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาว์ปัญญาหลายๆด้าน ผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาว์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ผู้สอนควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตน และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งนี้เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีเชาว์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกันการผสมผสานความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน  และความแตกต่างที่หลากหลายนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู ควรประเมินหลายๆด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหา ที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาว์ปัญญาด้านนั้น

 

 

อ้างอิงจาก

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.